เมนู

ย่อมได้รับประโยชน์ ฉันใด แม้พระอริยสาวกผู้ได้สดับ (ธรรมของ
พระอริยะ) ก็ฉันนั้น ไม่ยึดถือเบญจขันธ์ว่าเป็นเรา หรือว่าของเรา
โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่พิจารณาเห็นรูปว่าเป็นอัตตา ทราบว่า เบญจขันธ์
เหล่านี้เป็นศัตรูของเราแล้วประกอบเข้ากับวิปัสสนา โดยเป็นรูปสัตตกะ
(หมวดเจ็ดของรูป) และอรูปสัตตกะ (หมวดเจ็ดของอรูป) เป็นต้น
หลีกเว้นทุกข์ซึ่งเกิดจากเบญจขันธ์นั้น ย่อมได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
อันเป็นผลที่เลิศ.
บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น.
จบ อนุราธสูตร

4. อนุราธสูตร



ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ 5



[208] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฎาคารศาลา
ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี
ก็สมัยนั้น ท่านพระอนุราธะอยู่ที่กระท่อมในป่า
ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้น อัญญเดียรถีย์ปริพาชกพากันเข้า
ไปหาท่านพระอนุราธะจนถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่าน
พระอนุราธะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วจึงได้กล่าวกะท่านพระอนุราธะว่า
ดูก่อนท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุ
ธรรมที่ควรบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติใน
ฐานะ 4 นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก 1 ย่อมไม่เกิดอีก 1
ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี 1 ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก
ก็หามิได้ 1 เมื่อพวกปริพาชกกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอนุราธะ